สาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม
Industrial Chemistry Innovation

ประวัติความเป็นมา

        ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีความคงต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมในระดับโลก สำหรับประเทศไทยได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลเพื่อมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) สู่อุตสาหกรรมโลก โดยแนวทางในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมได้มีการคำนึงถึงกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใส่เทคโนโลยีลงไปในผลผลิตเพื่อแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า หรือตลอดจนการใช้ทรัพยากรในรูปแบบ Zero Waste ตามหลักการของเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในอนาคต อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังขาดการสนับสนุนการนำเสนอภาพลักษณ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ในระดับมหาวิทยาลัยจึงทำให้ผู้สนใจเข้าศึกษาต่อลดจำนวนลง ประกอบกับจากการสำรวจความต้องการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและสายอาชีวศึกษา พบว่าความสนใจด้านนวัตกรรมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหลักสูตรจึงมุ่งเน้นผลิตนวัตกรเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมหลักและอุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืน

        จึงทำให้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม ออกแบบหลักสูตรเพื่อสร้างกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่สะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง รวมถึงการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ และเป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาประเทศ มากไปกว่านั้นการจัดการเรียนการสอนจะเน้นการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ที่มีความทันโลก ทันสมัย ตอบโจทย์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) สามารถยกระดับสมรรถนะผู้เรียนที่จะออกไปเป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ คิดค้นองค์ความรู้ บริการ และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกที่ที่ไปอยู่ ตลอดจนต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนวัตกรรม และสินค้า เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้ในอนาคต และพาประเทศก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของการออกแบบผลลัพธ์ที่มุ่งหวังของหลักสูตรและมอดูลการจัดการเรียนรู้

 

ปรัชญา

            ผลิตกำลังคนที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมทางด้านอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมกลุ่มปิโตรเคมีและพลังงาน รวมถึงอุตสากรรมกลุ่มวัสดุ และสามารถปฏิบัติงานได้ทันทีตามความต้องการของอุตสาหกรรม โดยมีความรู้ความสามารถ (Knowledges) มีสมรรถนะทักษะ (Hard Skills) จรณทักษะ (Soft Skills) ที่จำเป็น รวมถึงทัศนคติที่ดี (Attitude)

วิสัยทัศน์

           ด้วยปัจจุบันการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีฐานการผลิตที่ทวีปเอเชีย ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างและพื้นฐานทางอุตสาหกรรมให้แข็งแกร่งขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อการพัฒนาดังกล่าวและเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอีกด้วย สาขานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นว่าประเทศไทยยังมีความต้องการบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะนักเคมีอุตสาหกรรม นักเคมีเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิ่งทอ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศแล้ว และยังเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศที่มีนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องปั้น เซรามิก แก้วและกระจกโบราณ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลักของภูมิภาค และเป็นภูมิปัญญาไทยที่ยังต้องการการพัฒนาเพื่อคุณภาพและมาตรฐานสำหรับการก้าวไปสู่ตลาดโลก อีกทั้งยังสามารถผลิตบัณฑิตเพื่อมีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้

พันธกิจ

1) ผลิตบัณฑิตที่สามารถพัฒนาหรือคิดค้นนวัตกรรมวัสดุอุตสาหกรรม (Production Innovation) หรือนวัตกรรมกระบวนการผลิตวัสดุอุตสาหกรรม (Process Innovation) ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้และผู้ผลิต โดยคำนึงถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2) ผลิตบัณฑิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมกลุ่มปิโตรเคมีและพลังงาน รวมถึงอุตสากรรมกลุ่มวัสดุ